วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติการปกครองระบอบประชาธิปไตย


☺ประวัติการปกครองระบอบประชาธิปไตย☺

1. ♥สาเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- ปัญญาชนรุ่นใหม่ต้องการมีส่วนร่วมในการปกครอง
- ประชาชนเริ่มตื่นตัวทางการเมืองจากอิทธิพลของหนังสือพิมพ์
- ผลจากการปฏิวัติในประเทศต่าง ๆ
- คนรุ่นใหม่เห็นว่าการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ล้าสมัย
2. ♣คณะปฏิวัติหรือ คณะราษฏร์ ได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475
คณะราษฏร์ซึ่งมี พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้า มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้
- จะต้องรักษาเอกราชทั้งทางการเมือง กาศาล และเศรษฐกิจให้มั่นคง
- จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ
- จะต้องให้ราษฏรมีสิทธิเท่าเทียมกัน
- จะต้องให้ราษฏรมีสิทธิเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ
3. คณะราษกรได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวในวันที่ 27 มิถุนายน และในวันที่ 28 มิถุนายน ก้มีพิธีเปิดสภาผู้แทนราษฏรขึ้นเป็นครั้งแรก และในที่สุดได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกคือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
4. ♦ผลของการเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
- ยกเลิกการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตย
- มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
- พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชฐานะและพระราชอำนาจตามที่ประบุไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งนี้พระองค์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยทางอ้อม 3 ประการ คือ
อำนาจนิติบัญญัติ ผ่านทางสภาผู้แทนราษฏร
อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี
อำนาจตุลาการ ผ่านทางศาลยุติธรรม





¥การปกครองระบอบประชาธิปไตย¥

ระบอบประชาธิปไตย หมายถึง การปกครองที่ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในรัฐ
¤ลักษณะสำคัญของระบอบปราชาธิปไตย
การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นในสมัยกรีกโบราณ โดยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- ลักษณะทางสังคม คือ ความเสมอภาคในการดำเนิดชีวิต ทุกคนมีส่วนเท่าเทียมกัน
- ลักษณะทางเศรษฐกิจ คือ ประชาชนมีโอกาสจะได้รับประโยชน์สุขทางเศรษฐกิจ
- ลักษณะทางการเมือง คือ ประชาชนมีสิทธิทาการเมือง เช่น การออกเสียงเลือกตั้ง
หลักการระบอบประชาธิปไตย มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจรัฐ
2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง
3. หลักการปกครองเพื่อประโยชน์ของประชาชน
4. การใช้หลักเหตุผล คือ นำเหตุผลมาประกอบความคิดเห็นในการดำเนินงานต่าง ๆ
5. หลักความยินยอม หลักประชาธิปไตยต้องการให้มีการกระทำด้วยความสมัครใจ
6. หลักการปกครองโดยเสียงข้างมากในการแสวงหาข้อยุติการตัดสินใจ
7. รัฐบาลมีอำนาจจำกัดและจำเป็น โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
8. หลักเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในการใช้สิทธิอันชอบธรรม
9. หลักการประนีประนอม กล่าวคือ พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง
Θรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยทางตรง คือ ให้ประชาชนของประเทศใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรง ในทางปฏิบัติจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อประเทศนั้นมีจำนวนประชากรไม่มากนักสามารถร่วมประชุมปรึกษาหารือกันได้โดยตรงไม่ตองมีตัวแทน
ประชาธิปไตยทางอ้อม คือ ประชาชนจะเลือกผู้แทนมาทำหน้าที่ปกครองประเทศแทนตน โดยให้เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในด้านต่าง ๆ เช่น อำนาจนิติบัญญัติ เป็นต้น ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ก็ใช้หลักการของระบอบประชาธิปไตยทางอ้อมทั้งสิ้น ซึ่งปรากฏในรูปแบบต่างๆ กัน ดังนี้
1. ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
2. ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี
3. การปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา

жการปกครองระบอบเผด็จการж

การปกครองแบบเผด็จการ หมายถึง การปกครองที่ให้ความสำคัญแก่อำนาจรัฐและผู้ปกครอง อำนาจรัฐจะอยู่เหนือเสรีภาพของบุคคล ผู้ปกครองอาจเป็นคนเดียว คณะบุคคลเดียว หรือพรรคการเมืองเดียว ซึ่งจะภือประโยชน์ของรัฐมากกว่าของประชาชน
фลักษณะการปกครองแบบเผด็จการ
1. ไม่สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประเทศ
2. จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
3. ยึดหลักความมั่นคง ปลอดภัยของรัฐเป็นสำคัญ ยกย่องอำนาจและความสำคัญขอรัฐเหนือเสรีภาพของประชาชน
4. ยึดหลักรวมอำนาจการปกครองไว้ที่ส่วนกลางของประเทศ ให้อำนาจอยูในมือผู้นำเต็มที่
5. ยึดหลักการใช้กำลัง การบังคับ และความรุนแรง เพื่อควบคุมประชาชนให้ปฏิบัติตามความต้องการของผู้นำ
6. ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำอย่างเคร่งครัด ไม่มีสิทธิโต้แย้งในนโยบายหรือหลักการของรัฐได้
7. สร้างความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตให้แก่ประชาชน จนประชาชนเกิดความหวั่นวิตกเกรงกลัวอันทำให้อำนาจรัฐเข้มแข็ง
ضรูปแบบการปกครองแบบเผด็จการ
ระบบการปกครองแบบเผด็จการ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
1.เผด็จการอำนาจนิยม มีลักษณะ ดังนี้
- อำนาจทางการเมืองเป็นของผู้ปกครอง ประชาชนไม่มีสิทธิ
- ควบคุมสิทธิเสรีภาพของประชาชนอันเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย
- ยอมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในครอบครัว การนับถือศาสนา การดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ โดยที่รัฐมีสิทธิแทรกแซง
2.เผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ มีลักษณะ ดังนี้
- ควบคุมอำนาจประชาชนทั้งทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ
- ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมในการปกครองใด ๆ ทั้งสิ้น
- รับเข้าดำเนิงานทางด้านเศรษฐกิจทั้งหมด โดยประชาชนเป็นเพียงผู้ให้แรงงาน
- มีการลงโทษอย่างรุนแรงหากประชาชนฝ่าฝืนหรือต่อต้าน ประชาชนต้องเชื่อฟังรัฐบาลผู้นำผู้ปกครองอย่างเครงครัด
- การปกครองแบบนี้ ได้แก่ การปกครองของรัฐคอมมิวนิสต์ในปัจจุบัน

เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ

เยลลี่อัญชัน
วันนี้เรามีเมนูของหวานมาฝากกันค่ะ เยลลี่ดอกอัญชัน มีสรรคุณบำรุงดวงตา แก้อาการตาฟาง ตามัว แถมยังมีคุณสมบัติช่วยขับปัสสวะอีกด้วยค่ะ


ส่วนผสม

น้ำเปล่า 1/2 ถ้วย
อัญชัน 20 ดอก
น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ
เจลาติน 3 แผ่น (แช่น้ำเย็นให้นิ่มแล้วสะบัดน้ำออกให้หมด)

วิธีทำ
ใช้มือขยี้ดอกอัญชันให้ละเอียดผสมกับน้ำเปล่า กรองเอากากออก เติมน้ำตาลลงไป นำไปเข้าไมโครเวฟประมาณหนึ่งนาที หย่อนเจลาตินที่นิ่มแล้วลงไป คนให้ละลาย พักไว้ให้อุ่นเทใส่พิมพ์ซิลิโคน (วันนี้ใช้ทรงโดม) นำเข้าช่องฟรีซจนแข็งตัว

ประชาธิปไตย กติกาเพื่อคนข้างน้อย

เกิดอะไรขึ้นกับบ้านนี้เมืองนี้!!!เป็นข้อสงสัยที่ตามด้วยคำถาม...วันนี้ บ้านเราปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องฟังเสียงคนส่วนใหญ่จริงหรือเปล่า?

ด้วยสภาพบ้านเมืองที่เกิด ขึ้น ไม่ต่างอะไรกับอนาธิปไตย...กฎหมู่ อยู่เหนือกฎหมาย

ใครพอใจอยาก จะทำอะไร แค่เกณฑ์ม็อบจ้างคนให้มาทำอะไรก็ได้ จะบุกยึดสถานที่ ปิดถนน จะตั้งด่านตรวจค้นใครตามอำเภอใจได้ทั้งนั้น

มีมวลชนส่วนน้อยอยู่ใน มือ สามารถที่จะข่มขู่เรียกร้องทำอะไรก็ได้...ในขณะที่คนส่วนใหญ่ที่ประพฤติตน เป็นคนดี เคารพกฎหมายต้องทนกล้ำกลืนยอมศิโรราบ ให้ความยำเกรงต่อคนส่วนน้อยที่ทำผิดกฎหมาย

ปรากฏการณ์เช่นนี้ เป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับบ้านเราหรือเปล่า

เปล่าเลย....เป็นเรื่อง เก่าๆ ที่มีมานานแล้ว




กรณีอย่างนี้ มีให้เห็นทุกเมื่อเชื่อวัน...แค่ออกไปตามถนน คนส่วนใหญ่ขับรถถูกกฎหมาย มีใครบ้างไม่เคยเห็น จยย.ขับขี่วิ่งย้อนศร แล้วคนที่ขับรถอย่างถูกกฎจราจร ต้องให้ความเกรงใจขับหลบหลีกรถขับขี่ผิดเย้ยกฎหมาย

สะท้อนให้เห็น บ้านนี้เมืองนี้ รัฐ (นักการเมือง+ข้าราชการ) ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายตามครรลองประชาธิปไตยได้เลย... ไม่สามารถคุ้มครองคนส่วนใหญ่ ที่ถูกคนส่วนน้อยละเมิดรังแกได้

นั่น เป็นแค่ตัวอย่างของปัญหาเล็กๆ ที่ถูกมองข้าม

บ้านเรายังมีตัวอย่าง ปัญหาใหญ่ยิ่งกว่า เป็นปัญหาระดับชาติ มีมาทุกยุคทุกสมัย และมีหลักฐานพิสูจน์ให้เห็นชัด...บ้านเราเสียงข้างน้อย มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่าเสียงข้างมาก

เพราะประเทศไทยไม่ได้ปกครองด้วย ระบอบประชาธิปไตย อย่างแท้จริง...ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่มีสิทธิได้อำนาจในการปกครอง

ด้วยตัวแทนของประชาชน ที่เราเรียกว่า ส.ส.ไม่ใช่ตัวแทนของคนส่วนใหญ่

ส.ส. ผู้เข้าไปใช้อำนาจแทนประชาชน...เป็นแค่ตัวแทนของคนข้างน้อย ที่ถูกอุปโลกน์ว่าเป็นตัวแทนคนส่วนใหญ่

จะด้วยเหตุนี้หรือ เปล่า...บ้านเมืองมันถึงได้ยุ่งเหยิง คนส่วนน้อยทำอะไรตามอำเภอใจได้ตลอด โดยไม่ต้องเคารพ เกรงใจคนส่วนใหญ่

เหตุที่เป็นเช่นนั้นมาจากกฎกติกา การเลือกตั้งของเรา มุ่งเน้นไปที่สรรหาผู้ชนะการเลือกตั้ง ได้รับคะแนนสูงสุด

เราไม่เคยให้ความสำคัญในเรื่อง เลือกหาตัวแทนปวงชนชาวไทย ที่ประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับหย่อนบัตรเลือกให้เป็นตัวแทน

ไม่ต้องเริด หรู เป็นตัวแทนคนส่วนใหญ่ทั้งแผ่นดิน

เอาแค่ขอให้เป็นตัวแทนของคน ส่วนใหญ่ที่มีสิทธิเลือกตั้งก็พอ...ส.ส.ที่อวดตัวว่าทรงเกียรติในสภาฯ ชุดปัจจุบัน ยังไม่อาจนับได้ว่า เป็นผู้แทนชาวไทย

ส.ส.ที่ได้รับการ เลือกตั้งทั่วไป เมื่อ 23 ธ.ค. 2550 ซึ่งทำให้ประเทศไทย มีนายกรัฐมนตรีถึง 3 คน นายสมัคร สุนทรเวช, นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อเอาคะแนนที่ได้รับการเลือกตั้ง ส.ส.ในระบบเขต มาคำนวณหาค่าเฉลี่ย ปรากฏว่า ส.ส.ที่ได้สิทธิเข้าไปนั่งในสภาฯ เป็นเพียง ตัวแทนของคนข้างน้อย

ได้รับความไว้วางใจจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แค่...33.2%

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่อีก 66.8% ไม่ได้ยอมรับ เลือกให้เป็นตัวแทนแต่อย่างใด

ใน 76 จังหวัด มีเพียง 7 จังหวัดเท่านั้น ที่พอพูดได้เต็มปากว่า เป็นตัวแทนปวงชนชาวไทยที่แท้จริง ได้รับเลือกด้วยคะแนนเกิน 50% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ชุมพร, ตรัง, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา, สุพรรณบุรี และสุราษฎร์ธานี

ส่วน กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศ คำนวณคะแนน ส.ส.36 คน จาก 12 เขตเลือกตั้ง เฉลี่ยแล้วได้เป็นตัวแทนของคนส่วนน้อยแค่ 31.2%...ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ

แม้ ส.ส. กทม.จะเป็นตัวแทนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ แต่ก็ยังดีกว่า ส.ส.อีกหลายจังหวัด

เพราะใน 76 จังหวัด มีอยู่ 28 จังหวัด ที่เป็น ส.ส.ของคนข้างน้อย ได้รับการยอมรับจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งน้อยกว่า 30%

อย่า ให้ระบุเจาะจงเป็นจังหวัดให้ขายหน้า หมางใจกันไปเปล่าๆ "สกู๊ปหน้า 1" ขอสรุปแยกเป็นภาค...ภาคเหนือ 3 จังหวัด, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด, ภาคกลาง 11 จังหวัด, ภาคตะวันออก 2 จังหวัด, ภาคใต้ 3 จังหวัด

ใน จำนวนนี้ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใหญ่ บางคน...ได้อำนาจยิ่งใหญ่ ทั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแค่ 26.5% ยอมรับให้เป็นตัวแทน (จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 243,616 คน ได้เป็น ส.ส.ด้วยคะแนน 64,615 เสียง)

นั่น เป็นแค่ค่าเฉลี่ยของทุกเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ ถ้าแยกเจาะดูละเอียดเป็นรายเขตเลือกตั้งแล้ว เราแทบจะไม่เชื่อว่า...ด้วยการยอมรับจากประชาชนเท่านี้ เขายังมีสิทธิเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยได้

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแค่ 17-19% ลงคะแนนให้...เขาผู้นั้นมีสิทธิได้ใช้อำนาจเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยได้

นี่ หรือประชาธิปไตย...การปกครองโดยคนส่วนใหญ่

แน่นอน นำประเด็นนี้มาพาดพิงเปรียบเทียบ บรรดาสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติ สามารถโต้แย้งได้ว่า สถิติการเลือกตั้งเฉลี่ยแต่ละเขต แต่ละจังหวัด ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ว่า ส.ส.เขตใดเป็นตัวแทนที่แท้จริงได้

เพราะ แต่ละเขต แต่ละจังหวัด มีผู้มาใช้สิทธิไม่เท่ากัน จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิมาก ย่อมได้คะแนนมาก เป็นตัวแทนคนส่วนใหญ่ได้... จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อย ย่อมได้คะแนนน้อย

ข้อโต้แย้งใน ประเด็นนี้...ฟังดูเข้าที

แต่ในข้อเท็จจริง...มิได้เป็นเช่นนั้น

การ เลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 23 ธ.ค.2550 มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเฉลี่ยทั้งประเทศ 74.49%

จังหวัดที่มีสถิติ ประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด 88.90%...ลำพูน

แต่ผลการเลือก ตั้งที่ออกมา ผู้ที่ได้เป็นตัวแทนประชาชน...ได้รับเลือกจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเฉลี่ยแค่ 38.19%

เชียงใหม่ จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิมากเป็นลำดับ 3...85.15% ผลการเลือกตั้ง ผู้ได้เป็นตัวแทน...ได้รับเลือกจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเฉลี่ยแค่ 32.37% เท่านั้น

ในขณะที่นครศรีธรรมราช มีสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิแค่ 73.13% อยู่ในระดับกลางค่อนไปทางบ๊วย มีผู้มาใช้สิทธิมาเป็นลำดับที่ 56 แต่กลับได้ตัวแทนเสียงข้างมาก 50.03% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ครั้น จะอ้างว่า เป็นเพราะรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ไม่เป็นประชาธิปไตย เลยทำให้เป็นเช่นนั้น...ก็ไม่จริง

เพราะการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 เมื่อปี 2548 ยุคที่พรรคไทยรักไทย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรืองอำนาจ ยิ่งใหญ่คับฟ้าคับแผ่นดิน

76 ปี ประชาธิปไตยไทย ยุบสภา 11 ครั้ง ลาออก 21 หน

ยุบสภา

ครั้งที่ 1

วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 เนื่องจากรัฐบาลพระยาพหลพลพยุทเสนามีมติของสภากรณี ส.ส.เสนอญัตติขอแก้ไขข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฏร

ครั้งที่ 2

วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฏรไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติอาชญากรสงครามเพื่อนำมาใช้จัดการกับ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม และคณะ ตามที่รัฐบาลเสนอ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช จึงต้องประกาศยุบสภา

ครั้งที่ 3

วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ยุบสภาเพราะกลุ่ม ส.ส.ที่สนับสนุนรัฐบาลจะสนับสนุนญตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรี

ครั้งที่ 4

วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกตั้งส.ส.นั้นอาจนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง พล.อ.เปรม ติณสุลานนท์ ประกาศยุบสภาเป็นครั้งแรก

ครั้งที่ 5

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พล.อ. เปรม ติณสุลานนท์ ประกาศยุบสภาเป็นครั้งที่ 2 สืบเนื่องมาจากสภาผู้แทนราษฏรมีมติไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก

ครั้งที่ 6

วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2531 เนื่องจาก ส.ส.ของพรรคร่วมรัฐบาลส่วนหนึ่งคัดด้านร่าง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ที่รัฐบาลเป็นผู้เสนอ พล.อ.เปรม ติณสุลานนท์ จึงประกาศยุบสภาเป็นครั้งที่ 3

ครั้งที่ 7

วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535 นายอานันท์ ปันยารชุน เข้าบริหารประเทศเป็นครั้งที่ 2 หลังสิ้นสุดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ มีการกล่าวกันว่า นายอานันท์ ได้เป็นนายกฯ พระราชทานคนที่ 2 นับจาก นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายอานันท์ได้เป็นนายกฯ อย่างพลิกความคาดหมาย เพราะพรรคแกนนำรัฐบาลขณะนั้นคือ พรรคสามัดคีธรรม เสนอชื่อนายรณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นนายกรัฐมนตรี โดย นายอานันท์ เข้าบริหารประเทศเพียง 4 เดือน จึงยุบสภาให้ประชาชนใช้สิทธิ์เลือกตั้งใหม่

ครั้งที่ 8

วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 รัฐบาล นายชวน หลีกภัย ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณีการออก ส.ป.ก.4-01 ทำให้พรรคพลังธรรมของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ถอนตัวออกจากรัฐบาล และไม่สามารถหาพรรคใดมาร่วมแทนได้ จึงต้องยุบสภา

ครั้งที่ 9

วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ข้อมูลฝ่ายค้านมีน้ำหนักทำให้พรรคร่วมรัฐบาลกดดันให้ นายบรรหาร ลาออกจากตำแหน่งภายใน 7 วัน ท้ายที่สุด นายบรรหาร ก็แก้เกมด้วยการปรับครม. และยุบสภาตามมาติดๆ

ครั้งที่ 10

วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 นายชวน หลีกภัย บริหารประเทศต่อจาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ที่ได้ลาออกไป จนเกือบครบวาระ 4 ปี ได้ประกาศยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชน นับเป็นการยุบสภาที่ไม่ได้มีเหตุมาจากความขัดแย้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด

ครั้งที่ 11

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจยุบสภา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 หลังจากบริหารประเทศในเทอมที่ 2 ได้เพียง 1 ปีเศษ







ลาออก

ครั้งที่ 1

วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 พระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกแล้ว กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ หลังจากการเลือกตั้ง

ครั้งที่ 2

วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2477 พระยาพหลพลพยุหเสนา ประกาศลาออกอีกครั้ง เพราะสภาไม่อนุมัติสนธิสัญญาจำกัดยางของรัฐบาล

ครั้งที่ 3

ยังคงเป็นรัฐบาล พระยาพหลพลพยุหเสนา ที่ประกาศลาออกในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 จากกรณีอื้อฉาวที่มีการตั้งกระทู้ถามเรื่องการนำที่ดินของพระคลัง มาซื้อขายในราคาถูกเป็นพิเศษ พระยาพหลพลพยุหเสนา ให้เหตุผลในการลาออกว่า เป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจ ไม่มีความเกี่ยวพันกับการซื้อขายที่ดินดังกล่าว

ครั้งที่ 4

พ.ศ. 2485 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ลาออกเพื่อเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

ครั้งที่ 5

พ.ศ. 2487 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ถูกกดดันให้ลงจากตำแหน่ง เนื่องจากนโยบายร่าง พ.ร.บ.ระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบุรณ์

ครั้งที่ 6

นายดวง อภัยวงศ์ ลาออกวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ให้มีการเลือกตั้ง หลังสงครามโลกสิ้นสุดลง เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่มีขึ้นในสมัยสงคราม

ครั้งที่ 7

นายทวี บุณยเกตุ ลาออกเพื่อให้ผู้เหมาะสมเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นรัฐบาลเฉพาะกาลที่มีอายุเพียง 17 วัน

ครั้งที่ 8

วันที่ 18 มีนาคม นายดวง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำหแน่ง เพราะแพ้การลงมติในสภา เรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองค่าใช้จ่ายฯ

ครั้งที่ 9

พ.ศ. 2489 นายปรีดี พนมยงค์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต โดยนายปวีดีให้เหตุผลว่า พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้สวรรคตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม อีกสาเหตุหนึ่งมาจากการทำลายทางการเมือง มีการกระจายข่าวว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง"

ครั้งที่ 10

การลาออกของ พล.ร.ต.ถวัลย์ ชำรงนาวาสวัสดิ์ ถือเป็นกรณีทั้งคลาสสิกมากที่สุดกรณีหนึ่ง นั่นคือ เป็นเพราะถูกพรรคประชาธิปัตย์อภิปรายไม่ไว้วางใจยาวนาน 7 วัน 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 19-26 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ซึ่งเรียกกันติดปากว่า "มหากรรม 7 วัน" แม้ พล.ร.ต.ถวัลย์ จะได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคร่วมรัฐบาลอย่างท่วมทัน แต่ทนกระแสกดดันจากภายนอกสภาไม่ได้ จนต้องประกาศลาออกในวันที่ 27 พฤษภาคม

ครั้งที่ 11

ปลายปี 2490 นายดวง อภัยวงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นครั้งที่ 3 หลังการปฏิวัติ แล้วได้ประกาศลาออกเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

ครั้งที่ 12

การเลือกตั้งวันที่ 29 มกราคม 2491 พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง นายดวง อภัยวงศ์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 แต่สุดท้ายวันที่ 6 เมษายน คณะทหารแก๊ง 4 คน นำโดย น.อ.กาจ กาจสงคราม บีบให้นายดวง ลาออก แล้วแต่งตั้ง จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน

ครั้งที่ 13

นายพจน์ สารสิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500 หลังจากการทำรัฐประหารของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชด์ การกิจสำคัญของรัฐบาลคือ จะต้องเร่งจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรให้บริสุทธิ์และยุติธรรมในปีถัดมา

ครั้งที่ 14

จอมพลถนอม กิตติชจร ได้รับการชาวเสียงจากสภาผู้แทนราษฏรให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 บริหารประเทศไทย 9 เดือนเศษก็ลาออกจากตำแหน่ง เปิดทางให้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชด์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ครั้งที่ 15

จอมพลถนอม กิตติชจร พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเกิดเหตุการณ์มี 14 ตุลา พ.ศ. 2518 รัฐบาลได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากเหตุการณ์นี้ ทำให้พลังทางการเมืองหลายฝ่ายกดดันให้ จอมพลถนอม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมตรี รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยึดอำนาจและรัฐประหารทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ

ครั้งที่ 16

นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งช่วงที่นิสิต นักศึกษาและกลุ่มพลังต่างๆ ได้เรียกร้อง และสร้างความกดดันต่อรัฐบาลโดยตลอด จนกระทั่ง นายสัญญา ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปคราวหนึ่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2517 แต่ได้รับการยืนยันจากสภานิติปัญญัติแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการกิจสำคัญของรัฐบาลได้เสร็จสิ้นลง คณะรัฐบาลของ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ จึงได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518

ครั้งที่ 17

ความขัดแย้งทางการเมืองที่ก่อตัวในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ยังไม่จบสิ้นลง กระทั่ง พ.ศ. 2518 จอมพลถนอมเดินทางกลับเข้าประเทศ โดยใช้สถานะของสามเณร ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช จึงถูกบีบบังคัญให้ลาออก เพราะไม่สามารถจัดการกับความวุ่นวายได้

ครั้งที่ 18

พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทนี ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยแถลงกลางสภาฯ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 อันมีสาเหตุเนื่องมาจากการที่รัฐบาลตัดสินใจเพิ่มราคาค่าน้ำมันตามเราคาดลาดโลก ซึ่งทำให้หลายฝ่ายได้รับความเดือดร้อนและโจมตี หลังจากนั้นได้ยุติบทบาททางการเมือง โดยไม่ข้องเกี่ยวกับวงการเมืองอีก แต่อย่างไรก็ตาม ในเหตุการณ์กบฎวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 พล.อ.เกรียงศักดิ์ ถูกต้องสงสัยว่าอาจมีส่วนรู้เห็นหรือสนับสนุนการกบฎดังกล่าว

ครั้งที่ 19

พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผบ.สส.ขณะนั้นยึดรถถ่ายทอดภาพและเสียงหรือรถโมบายของ อ.ส.ม.ท.ในตอนดึกของคืนวันที่ 22 มิถุยายน โดยอ้างว่าอาจเป็นปัญหาต่อความมั่งคงของชาติได้ ทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีประจำสำรักนายกฯ ออกมาตอบโต้ ส่งผลให้กลุ่มคณะนายทหารไม่พอใจจนเกิดเป็นความขัดแย้งขึ้นมา เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นแรงกดดันรวมกับปัญหาหลายประการ ส่งผลให้ พล.อ.ชาติชาย ชุณตะวัน ต้องประกาศลาออกโดยไม่มีการยุบสภา ในวันที่ 1 ธันวาคม 2533

ครั้งที่ 20

พล.อ.สุจินดา คราประยูร ลาออกจากตำแหน่งอย่างบอบช้ำ หลังเป็นตันเหตุในการสั่งฆ่าประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535

ครั้งที่ 21

การลาออกครั้งหลังสุดของนายกรัฐมนตรีในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ลาออกเพราะวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ได้รับการชื่นชมว่าเป็นสุภาพบุรุษนักการเมือง เพราะหากตัดสินใจยุบสภาในขณะนั้นอาจสร้างความเสียหายให้กับประเทศหนักขึ้นไปอีก

การเมืองการปกครองไทยปัจจุบัน

การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน


ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
1. ทรงเป็นประมุขของประเทศ
2. เป็นจอมทัพไทย
3. เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย
พระราชอำนาจของกษัตริย์ไทย
1. ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา
2. ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
3. ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
พระมหากษัตริย์จะทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและ
นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการทุกครั้ง ศาลจะเป็นผู้พิจารณาคดีในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ พระราชอำนาจในการเลือกและแต่งตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรี ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้ง และประธานองคมนตรีจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง องคมนตรีคนต่อไป
หน้าที่ขององคมนตรี ถวายคำปรึกษาและความเห็นในพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์


อำนาจอธิปไตยและการใช้อำนาจ
อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายโดยสถาบันรัฐสภา ในรัฐสภามี 2 สภา คือ
1. สภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในอัตราส่วน 1 : 150,000 มีวาระ 4 ปี
2. วุฒิสภา มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ มีสมาชิก 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎร มีวาระ 4 ปี
หน้าที่ของรัฐสภา
1. ทำหน้าที่ออกกฎหมาย
2. ทำหน้าที่คัดเลือกรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ
3. รัฐสภาควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาล
4.วุฒิสภาหรือวุฒิสมาชิกทำหน้าที่กลั่นกรองพิจารณาร่างกฎหมาย
บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.
1. เลือกคณะรัฐบาลเพื่อบริหารงาน
2. เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
3. ร่วมกันเสนอแนะ ปรับปรุงและรักษาการปกครองแบบประชาธิปไตยในสังคมให้ดีขึ้น
4. ร่วมกันตรากฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับของสภา
5. ควบคุมการทำงานของรัฐบาล
6. อนุมัติงบประมาณของแผ่นดิน
อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้หรือบริหารประเทศโดยรัฐบาล
อำนาจและหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
1.ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ว่าจะปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
2. อุทิศเวลาให้แก่การบริหารราชการแผ่นดิน
3. รับผิดชอบร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร
4. มิสิทธิเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร
5. มีสิทธิขอให้รัฐสภาเปิดอภิปรายทั่วไป
6. มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
7. มีอำนาจขอกราบบังคมทูลให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร
8.มีอำนาจกราบบังคมทูลแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน ปลัด กระทรวง อธิบดี
9. มีอำนาจกราบบังคมทูลขอให้พระมหากษัตริย์ ประกาศกฎอัยการศึก และพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษได้
อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการตัดสินคดี โดยสถาบันศาล ซึ่งศาลแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น ศาล อุทธรณ์ และศาลฎีกา
ผู้พิพากษาและตุลาการ มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย
-คณะกรรมการตุลาการ มีหน้าที่แต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนตำแหน่ง เลือนเงินเดือน การลงโทษทั้งทางวินัยแก่ข้าราชการตุลาการ
- คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัดแย้งกฎหมายนั้นจะนำมาบังคับใช้ไม่ได้ และพิจารณาคุณสมบัติของ ส.ส. วุฒิสภาและรัฐมนตรี การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน


1. การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- กระทรวง
- ทบวง
- กรม
2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
- จังหวัด
- อำเภอ
3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด
- เทศบาล
- สุขาภิบาล
- กรุงเทพมหานคร
- เมืองพัทยา
- องค์การบริหารส่วนตำบล

พรรคการเมือง การปกครองของประเทศไทย มีพรรคการเมืองหลายพรรค ทำให้เกิดรัฐบาลผสม
การเลือกตั้ง กระบวนการในการเลือกตั้งของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแบบผสม ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบรวมเขต คือ
จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้เกิน 3 คน ใช้วิธีการแบ่งเขต แต่จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้ไม่เกิน 3 คน จะใช้แบบวิธีรวมเขต

เข้ากันไม่ได้

เข้ากันไม่ได้