วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

76 ปี ประชาธิปไตยไทย ยุบสภา 11 ครั้ง ลาออก 21 หน

ยุบสภา

ครั้งที่ 1

วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 เนื่องจากรัฐบาลพระยาพหลพลพยุทเสนามีมติของสภากรณี ส.ส.เสนอญัตติขอแก้ไขข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฏร

ครั้งที่ 2

วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฏรไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติอาชญากรสงครามเพื่อนำมาใช้จัดการกับ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม และคณะ ตามที่รัฐบาลเสนอ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช จึงต้องประกาศยุบสภา

ครั้งที่ 3

วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ยุบสภาเพราะกลุ่ม ส.ส.ที่สนับสนุนรัฐบาลจะสนับสนุนญตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรี

ครั้งที่ 4

วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกตั้งส.ส.นั้นอาจนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง พล.อ.เปรม ติณสุลานนท์ ประกาศยุบสภาเป็นครั้งแรก

ครั้งที่ 5

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พล.อ. เปรม ติณสุลานนท์ ประกาศยุบสภาเป็นครั้งที่ 2 สืบเนื่องมาจากสภาผู้แทนราษฏรมีมติไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก

ครั้งที่ 6

วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2531 เนื่องจาก ส.ส.ของพรรคร่วมรัฐบาลส่วนหนึ่งคัดด้านร่าง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ที่รัฐบาลเป็นผู้เสนอ พล.อ.เปรม ติณสุลานนท์ จึงประกาศยุบสภาเป็นครั้งที่ 3

ครั้งที่ 7

วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535 นายอานันท์ ปันยารชุน เข้าบริหารประเทศเป็นครั้งที่ 2 หลังสิ้นสุดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ มีการกล่าวกันว่า นายอานันท์ ได้เป็นนายกฯ พระราชทานคนที่ 2 นับจาก นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายอานันท์ได้เป็นนายกฯ อย่างพลิกความคาดหมาย เพราะพรรคแกนนำรัฐบาลขณะนั้นคือ พรรคสามัดคีธรรม เสนอชื่อนายรณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นนายกรัฐมนตรี โดย นายอานันท์ เข้าบริหารประเทศเพียง 4 เดือน จึงยุบสภาให้ประชาชนใช้สิทธิ์เลือกตั้งใหม่

ครั้งที่ 8

วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 รัฐบาล นายชวน หลีกภัย ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณีการออก ส.ป.ก.4-01 ทำให้พรรคพลังธรรมของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ถอนตัวออกจากรัฐบาล และไม่สามารถหาพรรคใดมาร่วมแทนได้ จึงต้องยุบสภา

ครั้งที่ 9

วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ข้อมูลฝ่ายค้านมีน้ำหนักทำให้พรรคร่วมรัฐบาลกดดันให้ นายบรรหาร ลาออกจากตำแหน่งภายใน 7 วัน ท้ายที่สุด นายบรรหาร ก็แก้เกมด้วยการปรับครม. และยุบสภาตามมาติดๆ

ครั้งที่ 10

วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 นายชวน หลีกภัย บริหารประเทศต่อจาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ที่ได้ลาออกไป จนเกือบครบวาระ 4 ปี ได้ประกาศยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชน นับเป็นการยุบสภาที่ไม่ได้มีเหตุมาจากความขัดแย้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด

ครั้งที่ 11

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจยุบสภา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 หลังจากบริหารประเทศในเทอมที่ 2 ได้เพียง 1 ปีเศษ







ลาออก

ครั้งที่ 1

วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 พระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกแล้ว กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ หลังจากการเลือกตั้ง

ครั้งที่ 2

วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2477 พระยาพหลพลพยุหเสนา ประกาศลาออกอีกครั้ง เพราะสภาไม่อนุมัติสนธิสัญญาจำกัดยางของรัฐบาล

ครั้งที่ 3

ยังคงเป็นรัฐบาล พระยาพหลพลพยุหเสนา ที่ประกาศลาออกในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 จากกรณีอื้อฉาวที่มีการตั้งกระทู้ถามเรื่องการนำที่ดินของพระคลัง มาซื้อขายในราคาถูกเป็นพิเศษ พระยาพหลพลพยุหเสนา ให้เหตุผลในการลาออกว่า เป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจ ไม่มีความเกี่ยวพันกับการซื้อขายที่ดินดังกล่าว

ครั้งที่ 4

พ.ศ. 2485 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ลาออกเพื่อเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

ครั้งที่ 5

พ.ศ. 2487 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ถูกกดดันให้ลงจากตำแหน่ง เนื่องจากนโยบายร่าง พ.ร.บ.ระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบุรณ์

ครั้งที่ 6

นายดวง อภัยวงศ์ ลาออกวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ให้มีการเลือกตั้ง หลังสงครามโลกสิ้นสุดลง เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่มีขึ้นในสมัยสงคราม

ครั้งที่ 7

นายทวี บุณยเกตุ ลาออกเพื่อให้ผู้เหมาะสมเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นรัฐบาลเฉพาะกาลที่มีอายุเพียง 17 วัน

ครั้งที่ 8

วันที่ 18 มีนาคม นายดวง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำหแน่ง เพราะแพ้การลงมติในสภา เรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองค่าใช้จ่ายฯ

ครั้งที่ 9

พ.ศ. 2489 นายปรีดี พนมยงค์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต โดยนายปวีดีให้เหตุผลว่า พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้สวรรคตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม อีกสาเหตุหนึ่งมาจากการทำลายทางการเมือง มีการกระจายข่าวว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง"

ครั้งที่ 10

การลาออกของ พล.ร.ต.ถวัลย์ ชำรงนาวาสวัสดิ์ ถือเป็นกรณีทั้งคลาสสิกมากที่สุดกรณีหนึ่ง นั่นคือ เป็นเพราะถูกพรรคประชาธิปัตย์อภิปรายไม่ไว้วางใจยาวนาน 7 วัน 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 19-26 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ซึ่งเรียกกันติดปากว่า "มหากรรม 7 วัน" แม้ พล.ร.ต.ถวัลย์ จะได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคร่วมรัฐบาลอย่างท่วมทัน แต่ทนกระแสกดดันจากภายนอกสภาไม่ได้ จนต้องประกาศลาออกในวันที่ 27 พฤษภาคม

ครั้งที่ 11

ปลายปี 2490 นายดวง อภัยวงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นครั้งที่ 3 หลังการปฏิวัติ แล้วได้ประกาศลาออกเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

ครั้งที่ 12

การเลือกตั้งวันที่ 29 มกราคม 2491 พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง นายดวง อภัยวงศ์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 แต่สุดท้ายวันที่ 6 เมษายน คณะทหารแก๊ง 4 คน นำโดย น.อ.กาจ กาจสงคราม บีบให้นายดวง ลาออก แล้วแต่งตั้ง จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน

ครั้งที่ 13

นายพจน์ สารสิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500 หลังจากการทำรัฐประหารของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชด์ การกิจสำคัญของรัฐบาลคือ จะต้องเร่งจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรให้บริสุทธิ์และยุติธรรมในปีถัดมา

ครั้งที่ 14

จอมพลถนอม กิตติชจร ได้รับการชาวเสียงจากสภาผู้แทนราษฏรให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 บริหารประเทศไทย 9 เดือนเศษก็ลาออกจากตำแหน่ง เปิดทางให้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชด์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ครั้งที่ 15

จอมพลถนอม กิตติชจร พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเกิดเหตุการณ์มี 14 ตุลา พ.ศ. 2518 รัฐบาลได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากเหตุการณ์นี้ ทำให้พลังทางการเมืองหลายฝ่ายกดดันให้ จอมพลถนอม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมตรี รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยึดอำนาจและรัฐประหารทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ

ครั้งที่ 16

นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งช่วงที่นิสิต นักศึกษาและกลุ่มพลังต่างๆ ได้เรียกร้อง และสร้างความกดดันต่อรัฐบาลโดยตลอด จนกระทั่ง นายสัญญา ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปคราวหนึ่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2517 แต่ได้รับการยืนยันจากสภานิติปัญญัติแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการกิจสำคัญของรัฐบาลได้เสร็จสิ้นลง คณะรัฐบาลของ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ จึงได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518

ครั้งที่ 17

ความขัดแย้งทางการเมืองที่ก่อตัวในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ยังไม่จบสิ้นลง กระทั่ง พ.ศ. 2518 จอมพลถนอมเดินทางกลับเข้าประเทศ โดยใช้สถานะของสามเณร ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช จึงถูกบีบบังคัญให้ลาออก เพราะไม่สามารถจัดการกับความวุ่นวายได้

ครั้งที่ 18

พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทนี ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยแถลงกลางสภาฯ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 อันมีสาเหตุเนื่องมาจากการที่รัฐบาลตัดสินใจเพิ่มราคาค่าน้ำมันตามเราคาดลาดโลก ซึ่งทำให้หลายฝ่ายได้รับความเดือดร้อนและโจมตี หลังจากนั้นได้ยุติบทบาททางการเมือง โดยไม่ข้องเกี่ยวกับวงการเมืองอีก แต่อย่างไรก็ตาม ในเหตุการณ์กบฎวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 พล.อ.เกรียงศักดิ์ ถูกต้องสงสัยว่าอาจมีส่วนรู้เห็นหรือสนับสนุนการกบฎดังกล่าว

ครั้งที่ 19

พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผบ.สส.ขณะนั้นยึดรถถ่ายทอดภาพและเสียงหรือรถโมบายของ อ.ส.ม.ท.ในตอนดึกของคืนวันที่ 22 มิถุยายน โดยอ้างว่าอาจเป็นปัญหาต่อความมั่งคงของชาติได้ ทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีประจำสำรักนายกฯ ออกมาตอบโต้ ส่งผลให้กลุ่มคณะนายทหารไม่พอใจจนเกิดเป็นความขัดแย้งขึ้นมา เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นแรงกดดันรวมกับปัญหาหลายประการ ส่งผลให้ พล.อ.ชาติชาย ชุณตะวัน ต้องประกาศลาออกโดยไม่มีการยุบสภา ในวันที่ 1 ธันวาคม 2533

ครั้งที่ 20

พล.อ.สุจินดา คราประยูร ลาออกจากตำแหน่งอย่างบอบช้ำ หลังเป็นตันเหตุในการสั่งฆ่าประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535

ครั้งที่ 21

การลาออกครั้งหลังสุดของนายกรัฐมนตรีในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ลาออกเพราะวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ได้รับการชื่นชมว่าเป็นสุภาพบุรุษนักการเมือง เพราะหากตัดสินใจยุบสภาในขณะนั้นอาจสร้างความเสียหายให้กับประเทศหนักขึ้นไปอีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น