วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประชาธิปไตย กติกาเพื่อคนข้างน้อย

เกิดอะไรขึ้นกับบ้านนี้เมืองนี้!!!เป็นข้อสงสัยที่ตามด้วยคำถาม...วันนี้ บ้านเราปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องฟังเสียงคนส่วนใหญ่จริงหรือเปล่า?

ด้วยสภาพบ้านเมืองที่เกิด ขึ้น ไม่ต่างอะไรกับอนาธิปไตย...กฎหมู่ อยู่เหนือกฎหมาย

ใครพอใจอยาก จะทำอะไร แค่เกณฑ์ม็อบจ้างคนให้มาทำอะไรก็ได้ จะบุกยึดสถานที่ ปิดถนน จะตั้งด่านตรวจค้นใครตามอำเภอใจได้ทั้งนั้น

มีมวลชนส่วนน้อยอยู่ใน มือ สามารถที่จะข่มขู่เรียกร้องทำอะไรก็ได้...ในขณะที่คนส่วนใหญ่ที่ประพฤติตน เป็นคนดี เคารพกฎหมายต้องทนกล้ำกลืนยอมศิโรราบ ให้ความยำเกรงต่อคนส่วนน้อยที่ทำผิดกฎหมาย

ปรากฏการณ์เช่นนี้ เป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับบ้านเราหรือเปล่า

เปล่าเลย....เป็นเรื่อง เก่าๆ ที่มีมานานแล้ว




กรณีอย่างนี้ มีให้เห็นทุกเมื่อเชื่อวัน...แค่ออกไปตามถนน คนส่วนใหญ่ขับรถถูกกฎหมาย มีใครบ้างไม่เคยเห็น จยย.ขับขี่วิ่งย้อนศร แล้วคนที่ขับรถอย่างถูกกฎจราจร ต้องให้ความเกรงใจขับหลบหลีกรถขับขี่ผิดเย้ยกฎหมาย

สะท้อนให้เห็น บ้านนี้เมืองนี้ รัฐ (นักการเมือง+ข้าราชการ) ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายตามครรลองประชาธิปไตยได้เลย... ไม่สามารถคุ้มครองคนส่วนใหญ่ ที่ถูกคนส่วนน้อยละเมิดรังแกได้

นั่น เป็นแค่ตัวอย่างของปัญหาเล็กๆ ที่ถูกมองข้าม

บ้านเรายังมีตัวอย่าง ปัญหาใหญ่ยิ่งกว่า เป็นปัญหาระดับชาติ มีมาทุกยุคทุกสมัย และมีหลักฐานพิสูจน์ให้เห็นชัด...บ้านเราเสียงข้างน้อย มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่าเสียงข้างมาก

เพราะประเทศไทยไม่ได้ปกครองด้วย ระบอบประชาธิปไตย อย่างแท้จริง...ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่มีสิทธิได้อำนาจในการปกครอง

ด้วยตัวแทนของประชาชน ที่เราเรียกว่า ส.ส.ไม่ใช่ตัวแทนของคนส่วนใหญ่

ส.ส. ผู้เข้าไปใช้อำนาจแทนประชาชน...เป็นแค่ตัวแทนของคนข้างน้อย ที่ถูกอุปโลกน์ว่าเป็นตัวแทนคนส่วนใหญ่

จะด้วยเหตุนี้หรือ เปล่า...บ้านเมืองมันถึงได้ยุ่งเหยิง คนส่วนน้อยทำอะไรตามอำเภอใจได้ตลอด โดยไม่ต้องเคารพ เกรงใจคนส่วนใหญ่

เหตุที่เป็นเช่นนั้นมาจากกฎกติกา การเลือกตั้งของเรา มุ่งเน้นไปที่สรรหาผู้ชนะการเลือกตั้ง ได้รับคะแนนสูงสุด

เราไม่เคยให้ความสำคัญในเรื่อง เลือกหาตัวแทนปวงชนชาวไทย ที่ประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับหย่อนบัตรเลือกให้เป็นตัวแทน

ไม่ต้องเริด หรู เป็นตัวแทนคนส่วนใหญ่ทั้งแผ่นดิน

เอาแค่ขอให้เป็นตัวแทนของคน ส่วนใหญ่ที่มีสิทธิเลือกตั้งก็พอ...ส.ส.ที่อวดตัวว่าทรงเกียรติในสภาฯ ชุดปัจจุบัน ยังไม่อาจนับได้ว่า เป็นผู้แทนชาวไทย

ส.ส.ที่ได้รับการ เลือกตั้งทั่วไป เมื่อ 23 ธ.ค. 2550 ซึ่งทำให้ประเทศไทย มีนายกรัฐมนตรีถึง 3 คน นายสมัคร สุนทรเวช, นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อเอาคะแนนที่ได้รับการเลือกตั้ง ส.ส.ในระบบเขต มาคำนวณหาค่าเฉลี่ย ปรากฏว่า ส.ส.ที่ได้สิทธิเข้าไปนั่งในสภาฯ เป็นเพียง ตัวแทนของคนข้างน้อย

ได้รับความไว้วางใจจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แค่...33.2%

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่อีก 66.8% ไม่ได้ยอมรับ เลือกให้เป็นตัวแทนแต่อย่างใด

ใน 76 จังหวัด มีเพียง 7 จังหวัดเท่านั้น ที่พอพูดได้เต็มปากว่า เป็นตัวแทนปวงชนชาวไทยที่แท้จริง ได้รับเลือกด้วยคะแนนเกิน 50% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ชุมพร, ตรัง, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา, สุพรรณบุรี และสุราษฎร์ธานี

ส่วน กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศ คำนวณคะแนน ส.ส.36 คน จาก 12 เขตเลือกตั้ง เฉลี่ยแล้วได้เป็นตัวแทนของคนส่วนน้อยแค่ 31.2%...ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ

แม้ ส.ส. กทม.จะเป็นตัวแทนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ แต่ก็ยังดีกว่า ส.ส.อีกหลายจังหวัด

เพราะใน 76 จังหวัด มีอยู่ 28 จังหวัด ที่เป็น ส.ส.ของคนข้างน้อย ได้รับการยอมรับจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งน้อยกว่า 30%

อย่า ให้ระบุเจาะจงเป็นจังหวัดให้ขายหน้า หมางใจกันไปเปล่าๆ "สกู๊ปหน้า 1" ขอสรุปแยกเป็นภาค...ภาคเหนือ 3 จังหวัด, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด, ภาคกลาง 11 จังหวัด, ภาคตะวันออก 2 จังหวัด, ภาคใต้ 3 จังหวัด

ใน จำนวนนี้ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใหญ่ บางคน...ได้อำนาจยิ่งใหญ่ ทั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแค่ 26.5% ยอมรับให้เป็นตัวแทน (จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 243,616 คน ได้เป็น ส.ส.ด้วยคะแนน 64,615 เสียง)

นั่น เป็นแค่ค่าเฉลี่ยของทุกเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ ถ้าแยกเจาะดูละเอียดเป็นรายเขตเลือกตั้งแล้ว เราแทบจะไม่เชื่อว่า...ด้วยการยอมรับจากประชาชนเท่านี้ เขายังมีสิทธิเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยได้

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแค่ 17-19% ลงคะแนนให้...เขาผู้นั้นมีสิทธิได้ใช้อำนาจเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยได้

นี่ หรือประชาธิปไตย...การปกครองโดยคนส่วนใหญ่

แน่นอน นำประเด็นนี้มาพาดพิงเปรียบเทียบ บรรดาสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติ สามารถโต้แย้งได้ว่า สถิติการเลือกตั้งเฉลี่ยแต่ละเขต แต่ละจังหวัด ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ว่า ส.ส.เขตใดเป็นตัวแทนที่แท้จริงได้

เพราะ แต่ละเขต แต่ละจังหวัด มีผู้มาใช้สิทธิไม่เท่ากัน จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิมาก ย่อมได้คะแนนมาก เป็นตัวแทนคนส่วนใหญ่ได้... จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อย ย่อมได้คะแนนน้อย

ข้อโต้แย้งใน ประเด็นนี้...ฟังดูเข้าที

แต่ในข้อเท็จจริง...มิได้เป็นเช่นนั้น

การ เลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 23 ธ.ค.2550 มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเฉลี่ยทั้งประเทศ 74.49%

จังหวัดที่มีสถิติ ประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด 88.90%...ลำพูน

แต่ผลการเลือก ตั้งที่ออกมา ผู้ที่ได้เป็นตัวแทนประชาชน...ได้รับเลือกจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเฉลี่ยแค่ 38.19%

เชียงใหม่ จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิมากเป็นลำดับ 3...85.15% ผลการเลือกตั้ง ผู้ได้เป็นตัวแทน...ได้รับเลือกจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเฉลี่ยแค่ 32.37% เท่านั้น

ในขณะที่นครศรีธรรมราช มีสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิแค่ 73.13% อยู่ในระดับกลางค่อนไปทางบ๊วย มีผู้มาใช้สิทธิมาเป็นลำดับที่ 56 แต่กลับได้ตัวแทนเสียงข้างมาก 50.03% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ครั้น จะอ้างว่า เป็นเพราะรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ไม่เป็นประชาธิปไตย เลยทำให้เป็นเช่นนั้น...ก็ไม่จริง

เพราะการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 เมื่อปี 2548 ยุคที่พรรคไทยรักไทย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรืองอำนาจ ยิ่งใหญ่คับฟ้าคับแผ่นดิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น