วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบรัฐสภาของไทย


ระบบรัฐสภาของไทย
นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศและเป็นหลักในการจัดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐและกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจอธิปไตยภายใต้รูปแบบการปกครองเป็นระบบรัฐสภาโดยมีหลักสำคัญว่า "อำนาจอธิปไตย มาจากปวงชนชาวไทย" และ"พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุข" ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญทุกฉบับจะบัญญัติไว้ตรงกันให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ในการตรากฎหมายควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและการให้ความเห็นชอบในภารกิจสำคัญของประเทศ ส่วนรัฐสภาจะมีสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎร หรือมีสองสภา คือมีวุฒิสภาเพิ่มขึ้นมาอีกสภาหนึ่งและแต่ละสภาจะมีอำนาจหน้าที่และสัมพันธภาพระหว่างกันมากน้อยและแตกต่างกันเพียงใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสอดคล้องของภาวการณ์บ้านเมืองที่ผันแปรเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย
รัฐธรรมนูญของไทยเกือบทุกฉบับบัญญัติให้รัฐสภาประกอบไปด้วย 2 สภา คือวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร ประเทศไทยได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2476 และดำเนินต่อมาเป็นระยะๆ จนถึงปัจจุบัน
ส่วนวุฒิสภาของไทยมีขึ้นเป็นครั้งแรกตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 โดยบัญญัติว่ารัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกตั้งมีจำนวนเท่ากับสมาชิกสภา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น